ข้อมูลเทศบาล

ประวัติความเป็นมา

     เทศบาลตำบลบ้านลาด เดิมบริหารงานในรูปแบบสุขาภิบาล ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2499 เป็นต้นมา สภาพท้องที่ของสุขาภิบาลเป็นที่ราบมีขนาดกว้าง 760 เมตร ยาว 4,040 เมตร

และมีแม่น้ำเพชรบุรีไหล ผ่านเขตที่ตั้งของสุขาภิบาล ท้องที่ส่วนมากเป็นทุ่งนา ในการจัดตั้งระยะเริ่มแรก

มีราษฎรในเขต สุขาภิบาลทั้งสิ้น 2,014 คน จำนวนบ้าน 409 หลังคาเรือน ราษฎรส่วนมากนับถือ

ศาสนาพุทธ จนกระทั่งได้ มีการยกฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม

2542 และได้บริหารงานในรูปแบบ เทศบาลตำบล นับตั้งแต่นั้น

     ต่อมาเมื่อ วันที่ 24 กันยายน 2547 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับ

เทศบาล มีผลทำให้สภาตำบลบ้านลาดรวมกับเทศบาลตำบลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี

จากเนื้อที่เดิม 3.07 ตารางกิโลเมตร เป็น 3.70 ตารางกิโลเมตร


วิสัยทัศน์และพันธกิจ

วิสัยทัศน์

“  ใส่ใจการบริการ

มีบริหารจัดการที่ดี

สาธารณูปโภคครอบคลุมทุกพื้นที่

คุณภาพชีวิตดีถ้วนหน้า ”

พันธกิจ

             1.   ประชาชนได้รับความสะดวกและปลอดภัยในด้านโครงสร้างพื้นฐาน

             2.   จัดการศึกษาให้ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับการพัฒนาท้องถิ่น และส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

             3.   พัฒนาสิ่งแวดล้อม และการจัดการทรัพยากร

             4.   ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน และระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพ

             5.   ส่งเสริมการเกษตรและเศรษฐกิจ

             6.   การบริหาร และการบริการประชาชน

อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลบ้านลาด

  อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2546) และพระราชบัญญัติกำหนดและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ดังนี้

      1. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 ได้กำหนด ได้แก่

1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

2. ให้มีและบำรุงทางบกและทาง

3. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัด มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง

6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม

7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

9. หน้าที่อื่นตามกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

      2. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม  (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 ได้กำหนด อำนาจหน้าที่ที่เทศบาลตำบลลำทับอาจจัดกิจกรรมใดๆ ในเขตเทศบาล ได้แก่

1. ให้มีนํ้าสะอาดหรือการประปา

2. ให้มีโรงฆ่าสัตว์

3. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม

4. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน

5. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร

6. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้

7. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

8. ให้มีและบำรุงทางระบายนํ้า

9. เทศพาณิฃย์

      3. และหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 ให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้

1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

2. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางนํ้าและทางระบายนํ้า

3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ

5. การสาธารณูปการ

6. การส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ

7. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน

8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว

9. การจัดการศึกษา

10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และ ผู้ด้อยโอกาส

11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

14. การส่งเสริมกีฬา

15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

17. การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

18. การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และนํ้าเสีย

19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

20. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน

21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

22. การจัดให้มีและควบคุมการเลี้ยงสัตว์

23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพและสาธารณะอื่นๆ

24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

25. การผังเมือง

26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร

27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ

28. การควบคุมอาคาร

29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

31. กิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

      4. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนด นอกจากอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2546 กำหนดไว้แล้วยังกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆ อีกเป็นจำนวนมาก เช่น

- พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2534

- พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535

- พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493

- พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2495

- พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535

- พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534

- พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535

- พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535

- พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508

- พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510

- พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518

- พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ.2522

- พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523

- พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ.2526

- พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ.2528

      อำนาจหน้าที่ของเทศบาลโดยสรุป

 1.รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

 2. ให้มีและบำรุงทางบกและทางนํ้า

 3. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

 4. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ            

5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง

6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม

7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

8. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

9. ให้มีนํ้าสะอาดหรือการประปา

10. ให้มีโรงฆ่าสัตว์

11. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้

12. ให้มีและบำรุงทางระบายนํ้า

13.ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ

 14. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

 15. ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น

 16. หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

      กิจการที่อาจจัดทำในเขตเทศบาล

1. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม

2. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน

3. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร

4. ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก

5. ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล

6. ให้มีการสาธารณูปการ

7. จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข

8. จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา

9. ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา

10. ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

11. ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น

12. เทศพาณิชย์

      นอกจากนี้ เทศบาลยังมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ พ.ศ.2542 ดังนี้

1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง

2. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางนํ้า และทางระบายนํ้า

3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ

4. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ

5. การสาธารณูปการ

6. การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ

7. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน

8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว

9. การจัดการศึกษา

10. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

12.การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

14. การส่งเสริมกีฬา

15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

16. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น

17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และนํ้าเสีย

19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

20. การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน

21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์

22. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์

23. การรักษาความปลอดภัยความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่นๆ

24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

25. การผังเมือง

26. การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร

27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ

28. การควบคุมอาคาร

29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

31. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

ชื่อหมู่บ้าน ครัวเรือน ชาย หญิง รวม -
บ้านโพธิ์ใหญ่ หมู่ที่ 1 335 383 446 829 คน
บ้านหาดทราย หมู่ที่ 2 163 207 224 431 คน
บ้านลาด หมู่ที่ 3 152 202 211 413 คน
บ้านหัวเกาะ หมู่ที่ 4 44 41 68 109 คน
บ้านไร่ใน หมู่ที่ 5 179 231 294 525 คน
บ้านป่า หมู่ที่ 6 353 285 317 602 คน
บ้านวังชะนวน หมู่ที่ 7 357 151 200 351 คน
บ้านในลุ่ม หมู่ที่ 8 139 190 223 413 คน
ข้อมูลรวม : คน

สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศ

ที่ตั้งของหมู่บ้านและชุมชนในเขตเทศบาล 

      เทศบาลตำบลบ้านลาด อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศใต้ประมาณ 123 กิโลเมตร

(ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี) มีพื้นที่ในเขตการปกครอง จำนวน 3.70

ตารางกิโลเมตร พื้นที่ครอบคลุมตำบลบ้านลาด จัดตั้งเทศบาลตำบลบ้านลาด เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม

2542  เปลี่ยนแปลงเขตครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2547  พื้นที่เดิมก่อนเปลี่ยนแปลงเขต 3.07

ตารางกิโลเมตร  ระยะห่างจากอำเภอเมือง  จังหวัดเพชรบุรี 8 กิโลเมตร 

     ทิศเหนือ            จรดตำบลบ้านหม้อ                     อำเภอเมือง            จังหวัดเพชรบุรี

     ทิศใต้                จรดตำบลตำหรุ                          อำเภอบ้านลาด       จังหวัดเพชรบุรี

     ทิศตะวันออก      จรดตำบลท่าเสน ตำบลสมอพลือ    อำเภอบ้านลาด        จังหวัดเพชรบุรี

     ทิศตะวันตก        จรดตำบลท่าช้าง                         อำเภอบ้านลาด      จังหวัดเพชรบุรี

แผนที่แสดงที่ตั้งของหมู่บ้านและชุมชนในเขตเทศบาลของเทศบาลตำบลบ้านลาด

ลักษณะภูมิประเทศ

     อำเภอบ้านลาด เป็นเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของจังหวัดซึ่งอุดมสมบูรณ์ที่สุด

มีแม่น้ำเพชรบุรีซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่าน เหมาะแก่การเกษตรกรรม

สภาพภูมิอากาศ

     อำเภอบ้านลาด ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในฤดูฝน  และอิทธิพลจากลมมรสุม

ตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว จึงทำให้มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเวลาดังกล่าว

สามารถแบ่งฤดูกาลออกเป็น 3 ฤดู

     ฤดูร้อน       เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - กลางเดือนพฤษภาคม

     ฤดูฝน        เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - กลางเดือนตุลาคม

     ฤดูหนาว     เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์

     ในปี 2560 อุณหภูมิอากาศสูงที่สุด 38.8 องศาเซลเซียส (วันที่ 19 สิงหาคม 2560) อุณหภูมิอากาศ

ต่ำที่สุด 16.7 องศาเซลเซียส (วันที่ 16 มกราคม 2560) อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยทั้งปี 28.71

องศาเซลเซียส ปริมาณฝนตกรวมทั้งปี 794.0 มิลลิเมตร

การเมืองการปกครอง

เขตการปกครอง

     เทศบาลตำบลบ้านลาดแบ่งการปกครอง ดังนี้

     หมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลบ้านลาด แบ่งออกเป็น  8  หมู่บ้าน  ดังนี้

หมู่ที่ 1  “บ้านโพธิ์ใหญ่โพธิ์สามราก”   โดยมี  นางชลธีรา            รำออ       เป็นผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 2  “บ้านท่าหิน”                       โดยมี  นายจำลอง           สังข์พุก    เป็นผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 3  “บ้านลาด”                         โดยมี  นายณรงค์ศักดิ์             แช่มช้อย  เป็นผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 4  “บ้านหัวเกาะ”                     โดยมี  นายวสันต์ พรหมอินทร์    เป็นผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 5  “บ้านไร่ใน - ไร่นอก”            โดยมี  นายชัยวัฒน์          บุญมาก    เป็นผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 6  “บ้านศาลาหมูสี-บ้านป่า”       โดยมี  นายสรศักดิ์  ทองเจิม   เป็นผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 7  “บ้านวังชนวน”                    โดยมี  นายสมคิด            พวงมะลิ    เป็นผู้ใหญ่บ้าน

หมู่ที่ 8  “บ้านขนอน-บ้านในลุ่ม”         โดยมี  นายยุทธพงศ์        พ่อเมือง    เป็นกำนัน

สำนักงานเทศบาลตำบลบ้านลาด ตั้งอยู่ที่  หมู่ที่ 7  ถนนสายสุทธิ์  ตำบลบ้านลาด  อำเภอบ้านลาด  จังหวัดเพชรบุรี 

โทรศัพท์ 032 409 -660 ถึง 2  โทรสาร 032-409661 ต่อ 155

เขตการเลือกตั้ง

     เทศบาลตำบลบ้านลาด แบ่งเขตการเลือกตั้ง ดังนี้

     - การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น  แบ่งออกเป็น 1 เขตเลือกตั้ง

     - การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบล  แบ่งออกเป็น 2 เขตเลือกตั้ง           

สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

สภาพทางเศรษฐกิจ

การเกษตร

     1.ลักษณะการประกอบการเกษตรกรรมในเขตเทศบาล เป็นเกษตรผสมผสาน

        และปลูกไม้ผลแบบสวนหลังบ้าน เป็นเกษตรขนาดเล็กรายย่อย

     2.จำนวนครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมที่อยู่ในเขตเทศบาล 1,308 ครัวเรือน

     3.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญในเขตเทศบาล       จำนวน 1,624 ไร่

     4.มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรในเขตเทศบาล 17,797,500 บาท

ที่ดินทำนาประมาณ 630 ไร่

ที่ดินทำสวนประมาณ 975 ไร่ พืชสวนที่สำคัญ ได้แก่

     ละมุด       389 ไร่      กล้วยหอมทอง    20 ไร่

     มะม่วง      126 ไร่      ส้มโอ                81 ไร่

     มะนาว      120 ไร่      กล้วยน้ำว้า          89 ไร่

     มะพร้าว      90 ไร่      กระท้อน             51 ไร่

     ชมพู่เพชร     2 ไร่      ตาลโตนด            7 ไร่

ที่ดินทำไร่ประมาณ 19 ไร่ พืชไร่ที่สำคัญ ได้แก่

     หญ้าเลี้ยงสัตย์     6 ไร่

     ชะอม                 4 ไร่

     กล้วยไม้แวนดา    3 ไร่

     กล้วยไม้หวาย      3 ไร่

     มะลิ                  3 ไร่

     (ข้อมูลจากเกษตรอำเภอบ้านลาด)

ปศุสัตว์

     ที่ดินสำหรับเลี้ยงสัตว์ประมาณ 19 ไร่

     โค                  557 ตัว        ไก่ไข่        32,425 ตัว

     ไก่พื้นเมือง     1,989 ตัว        สุกร                10 ตัว

     (ข้อมูลจากปศุสัตว์อำเภอบ้านลาด)

ด้านเศรษฐกิจ

การพาณิชย์

     ธนาคาร                 3 แห่ง    ร้านค้าต่าง ๆ 52 แห่ง

     ห้างหุ้นส่วนจำกัด     4 แห่ง    ตลาดนัด 4 แห่ง

     สถานบริการน้ำมัน    2 แห่ง

สถานประกอบการด้านบริการ

     ร้านอาหาร            46 แห่ง    ร้านเกมส์/อินเตอร์เน็ต 5 แห่ง

     ร้านคาราโอเกะ        3 แห่ง

ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ออกกำลังกายและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

     1) สวนสาธารณะ             จำนวน 2 แห่ง     (สวนสมเด็จย่า, สวนสุขภาพวัดใหม่ประเสริฐ)

     2) สนามเด็กเล่น             จำนวน 2 แห่ง     (หน้าวัดป่าแป้น, สวนสมเด็จย่า)

     3) ห้องสมุดประชาชน       จำนวน 1 แห่ง     (บริเวณที่ว่าการอำเภอบ้านลาด)

     4) สนามฟุตซอล             จำนวน 1 แห่ง     (สวนสุขภาพวัดใหม่ประเสริฐ)

อุตสาหกรรม

     1. ลักษณะการประกอบอุตสาหกรรมในเขตเทศบาล ประกอบธุรกิจขนาดเล็ก

     2. ประเภทของอุตสาหกรรม แบ่งเป็น

         2.1 โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก 2 แห่ง

         2.2 โรงสี 2 แห่ง

อาชีพหลัก

      ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในเขตชุมชนซึ่งเป็นเขตเทศบาลตำบลบ้านลาด  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ

ทางด้านการเกษตร ทำนา ทำไร่ ทำสวน โดยเฉพาะผลไม้หลายชนิดที่มีชื่อเสียงในด้านรสชาติ

ความอร่อย เช่น ตาลโตนด ชมพู่ กล้วยหอมทอง หรือละมุด

อาชีพเสริม

     ทำขนมหวาน ผลไม้กวน รวมทั้งผลิตภัณฑ์ OTOP ต่างๆ ทำให้ประชาชนมีงานทำและมีรายได้

เพิ่มขึ้น 

     (ข้อมูลจาก  www. ศูนย์บริการข้อมูลอำเภอ.คอม)

สภาพทางสังคม

การสังคมสงเคราะห์

     เทศบาลได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้

     1. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ป่วยเอดส์ 

     2. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

     3. ประสานการทำบัตรผู้พิการ

     4. ตั้งโครงการการจ้างนักเรียน/นักศึกษาทำงานช่วงปิดภาคเรียน 

     5. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน  ยากไร้  รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง                  

     6.  ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน     

ยาเสพติด

     ปัญหายาเสพติดในชุมชนของเทศบาล  จากการที่ทางสถานีตำรวจภูธรบ้านลาดได้แจ้งให้กับ

เทศบาลทราบนั้นพบว่าในเขตเทศบาลมีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และ

ยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของเทศบาล

ที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของเทศบาลสามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่

เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้  ถ้านอกเหนือจาก

อำนาจหน้าที่  ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ เทศบาลก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดย

ตลอด 

 

สภาพทางการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

การศึกษา

     ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลบ้านลาด

     โรงเรียนวัดลาดศรัทธาราม

     โรงเรียนบ้านลาดวิทยา

     ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)

การนับถือศาสนา

     - ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ   100

       วัด                          5    แห่ง                             

ประเพณีและงานประจำปี

     - ประเพณีวันขึ้นปีใหม่                            ประมาณเดือน     มกราคม

     - ประเพณีวันสงกรานต์                           ประมาณเดือน     เมษายน

     - ประเพณีลอยกระทง                             ประมาณเดือน     ตุลาคม  พฤศจิกายน

     - ประเพณีวันเข้าพรรษา  ออกพรรษา         ประมาณเดือน     กรกฎาคม  ตุลาคม  พฤศจิกายน

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

     ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ประชาชนในเขตเทศบาลได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ได้แก่ 

การทำกำไรทองเหลือง  เห่เรือบก  หุ่นกระบอกสี่พี่น้อง  

ภาษาถิ่นบ้านลาด/ภาษาถิ่นเพชรบุรี  การใช้ภาษาสำเนียงบ้านลาด หรือที่คนเพชรเรียกกันว่า ....

เหน่อบ้านลาด... ภาษาเหน่อบ้านลาด  ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ สำเนียงชาวเพชรแท้ๆก็จะอยู่ในเขต

อำเภอบ้านลาด  รูปแบบประโยคโดยเฉพาะการปฏิเสธจะใช้คำว่า "ไม่" ตามหลังคำกริยา และ

เปลี่ยนระดับเสียงคำกริยา   เช่น กิ๊นไม่ (ไม่กิน) เอ๊าไม่ (ไม่เอา) มี้ไม่ (ไม่มี) ป๊วดไม่ (ไม่ปวด)

สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

     ในเขตพื้นที่เทศบาล สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2008

ด้านการส่งออกกล้วยหอมทอง  และแปลงกล้วยทุกแปลงยังได้รับการรับรอง GAP  และสามารถ

ตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับแหล่งผลิตได้

การบริการพื้นที่และทรัพยากรธรรมชาติ

การคมนาคมขนส่ง

     ในเขตเทศบาลมีถนนเพื่อให้บริการแก่ประชาชน  ดังนี้

     1) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3179 ถนนเพชรเกษม - บ้านลาด  จำนวน 1 สาย

     2) ถนนภายในเขตเทศบาลมีทั้งหมด 69 สาย  ยาวประมาณ 38,377 เมตร แยกเป็น

     - ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก      57   สาย   ความยาว               26,567   เมตร

     - ถนนลาดยาง                      6   สาย   ความยาว                6,000   เมตร

     - ถนนที่มีทางระบายน้ำ           6   สาย   ความยาว                5,810   เมตร

     - พื้นที่ถนนและทางเท้า       825   ตารางเมตร                                           

     - สัญญาณไฟจราจร               1   แห่ง 

(ข้อมูลจากกองการช่าง   เทศบาลตำบลบ้านลาด)

การไฟฟ้า

     การบริการด้านไฟฟ้าและแสงสว่างในเขตเทศบาลเป็นของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอบ้านลาด

ซึ่งให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดในเขตเทศบาลทั้งระบบไฟฟ้าภายในอาคาร และระบบไฟฟ้า

ส่องสว่างทางสาธารณะ  ที่มีกำลังเพียงพอต่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของบ้านลาด โดยมีผู้ใช้ไฟฟ้า

ในเขตเทศบาล จำนวน 1,515 ราย ไฟฟ้าสาธารณะดำเนินการโดยเทศบาลตำบลบ้านลาด

จำนวน 200 จุด

ข้อมูลเกี่ยวกับการระบายน้ำจำนวนราง/ท่อระบายน้ำ     

     จำนวนราง/ท่อระบายน้ำ                               จำนวน   7  แห่ง   รวมระยะทาง  5.87  กิโลเมตร

     ถนนที่มีราง/ท่อระบายน้ำ ทั้ง 2 ด้านของถนน    จำนวน    1  สาย   ระยะทาง           3  กิโลเมตร

     ถนนที่มีราง/ท่อระบายน้ำด้านเดียว                  จำนวน   1  สาย   ระยะทาง       0.25  กิโลเมตร

     ถนนที่ไม่มีราง/ท่อระบายน้ำ                          จำนวน  50  สาย   ระยะทาง         20  กิโลเมตร

     เทศบาลได้ทำความสะอาด ราง/ท่อระบายน้ำ  ปีละ 2 ครั้ง

การประปา

     ครัวเรือนที่ใช้บริการน้ำประปา    จำนวน                 1,711   ครัวเรือน

     หน่วยงานเจ้าของกิจการประปา ของส่วนท้องถิ่น             1   แห่ง

     น้ำประปาที่ผลิตได้    จำนวน                               1,650   ลบ.ม./วัน

     น้ำประปาที่ต้องการใช้ จำนวน                              1,420   ลบ.ม./วัน

     แหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา คือ แหล่งน้ำผิวดิน

     แหล่งน้ำสำหรับผลิตน้ำประปา คือ แม่น้ำเพชรบุรี

โทรศัพท์

     จำนวนโทรศัพท์สาธารณะในเขตพื้นที่         จำนวน    3    หมายเลข

ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์

     มีไปรษณีย์  จำนวน  1  แห่ง  ให้บริการ เวลา  08.00 - 16.00 น.  ในวันจันทร์ - เสาร์   

(วันเสาร์ครึ่งวัน)  หยุดวันอาทิตย์

 

ข้อมูลตลาดในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

ประเภทของตลาด

ชื่อตลาด

ที่ตั้ง

จำนวนแผงสินค้า (แผง)

วัน/เวลา เปิด-ปิด

หมายเหตุ

ตลาด อปท.

-

-

-

-

-

ตลาดเอกชน

(ประเภท 1)

ตลาดสดสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด

หมู่ ๗ ชุมชนวังชนวน

๑๐๗

เปิดทุกวัน

เวลา ๐๔.๐๐ – ๑๙.๐๐  น.

 

ตลาดนัด

(ประเภท 2)

๑.สี่แยกบ้านลาด

หมู่ ๗ ชุมชนวังชนวน

๑๒๐

จันทร์/พุธ/ศุกร์

เวลา ๑๖.๐๐ – ๑๙.๐๐  น.

 

๒.สหกรณ์บ้านลาด

หมู่ ๖ ศาลาหมูสีก้าวหน้า

๕๖

วันพฤหัสบดี/วันอาทิตย์

เวลา  ๑๕.๐๐ – ๑๙.๐๐ น.

 

๓.นัดหาดทราย

หมู่ ๒ ท่าหินพัฒนา

๔๘

วันอังคาร/วันเสาร์

เวลา  ๑๕.๐๐ – ๑๙.๐๐ น.

 

4. นัดขนอน

หมู่ 8 ขนอน

10

วันอาทิตย์

เวลา 05.00 – 09.00 น.

 

ตลาดนัดเปิดท้าย

(ประเภท 2)

5. นัดเปิดท้ายหน้า ธนาคารออมสิน

หมู่ ๖ ศาลาหมูสีก้าวหน้า

50

วันจันทร์/วันเสาร์

เวลา  ๑๕.๐๐ – ๑๙.๐๐ น.

 

6. นัดเปิดท้ายลานสหกรณ์

หมู่ ๖ ศาลาหมูสีก้าวหน้า

70

วันพฤหัสบดี/วันอาทิตย์

เวลา  ๑๕.๐๐ – ๑๙.๐๐ น.

 

 

ทรัพยากรธรรมชาติ

     น้ำ  ที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค  เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำดิบจากแม่น้ำเพชรบุรี  ซึ่งจะต้อง

นำมาผ่านกระบวนการของระบบประปา สำหรับน้ำใต้ดินมีปริมาณน้อย ไม่สามารถนำขึ้นมาใช้ให้พอเพียง

ได้ และบางแห่งเค็ม ไม่สามารถใช้ดื่มและอุปโภคได้

     ป่าไม้  ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้

     ภูเขา  ในเขตเทศบาลไม่มีภูเขา

     คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

     ในพื้นที่ของเทศบาลส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย  ร้านค้า  สถานประกอบการ 

ตามลำดับ  และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่  ก็ได้แก่ 

ดิน  น้ำ  ต้นไม้  อากาศที่ไม่มีมลพิษ ปัญหาคือ เนื่องจากว่าพื้นที่บางส่วนดินมีสภาพเป็นกรด  น้ำใต้ดิน

ไม่สามารถที่จะนำน้ำจากใต้ดินมาใช้ในการอุปโภค-บริโภคได้ได้ ต้องอาศัยน้ำดิบจากแหล่งอื่น และ

น้ำฝน